7 วิธีถนอมสายตาในยุกคอมพิวเตอร์

คนยุกใหม่ใช้สายตาเยอะมาก ไม่ว่าจะทำงานอะไร เดี่ยวนี้ก็ต้องใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ยังจะต้องใช้ดวงตาในการใช้อุปกรณ์อื่นอีก มือถือ เทปเล็ต แทบจะเรียกได้ว่าอวัยวะที่ถูกใช้ในชีวิตประจำมากที่สุดก็คือ ดวงตา บางครั้ง ก็อาจจะมีเริ่มรู้สึกถึงอาการตาวิ้ง มองภาพต่างๆ พร่ามัวไม่ชัด สำคัญอย่างนี้ก็อย่ารอช้าเลยรีบรักษามันไว้ก่อนสายเกินไปนะ ThaiDIY.info ได้รวบรวมวิธีที่แพทย์แนะนำมา จากหลายๆที่เลย สิบปากว่าไม่เท่า "ตา" เห็น ลองทำดูเลยดีกว่านะครับ

1. กะพริบตาให้ถี่ขึ้น

อาการตาแห้งเกิดจากการที่เรากะพริบตาน้อยลง เนื่องจากมีสมาธิขณะทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อัตราการกะพริบตาจะลดลงจาก 20 – 22 ครั้งต่อนาที เหลือเพียง 6 – 8 ครั้งต่อนาที ถ้าไม่อยากตาแห้งควรจะกะพริบตาให้ถี่ขึ้น หรืออาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตาเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น เมื่อคุณจ้องมองที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณคุณกระพริบตามธรรมชาติมักจะน้อย ดังนั้นตาของคุณไม่ได้รับการหล่อลื่นตามธรรมชาติ นำไปสู่ความแห้งกร้านตาและสีแดง  หมั่นกะพริบตาเป็นประจำสม่ำเสมอ เพราะทำให้น้ำมาหล่อเลี้ยงดวงตา ไม่เกิดอาการแสบตาหากตาบวม สามารถรักษาได้โดยการเอาช้อนแช่เย็น มาแตะเบาๆ ตรงบริเวณที่บวม

2. จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม

ให้บริเวณหน้าต่างอยู่ทางด้านข้างของจอคอมพิวเตอร์ เพื่อลดแสงตกสะท้อนบนหน้าจอ และควรจัดให้มีระยะห่างระหว่างจอภาพกับตัวเราประมาณ 50 – 70 ชม. จัดระดับจดภาพจากจุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่กว่าระดับสายตาประมาณ 4 – 9 นิ้ว ไม่ควรให้จอภาพอยู่สูงหรือต่ำเกินไป


3. ปรับความสว่างของห้อง

ควรปิดไฟบางดวงที่รบกวนการทำงานเพราะปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความสว่างที่มากเกินไป ถ้ามีแสงจ้าจากหน้าต่างควรใช้มูลี่เพื่อปรับแสงให้ผ่านได้เพียงบางส่วนและไม่เข้าตาโดยตรง หลีกเลี่ยงการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีพื้นผิวสะท้อน เช่น โต๊ะสีขาว ควรใช้วัสดุที่มีผิวด้านที่สะท้อนแสงไม่มากจะดีกว่า



และหากคุณเป็นคนติดการใช้มือถือ ก็ไม่ควรใช้ในที่มืดอย่างยิ่ง โดย นายแพทย์ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญโรคตาประจำโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า การที่สมัยนี้คนใช้เทคโนโลยีกันมากขึ้น ทั้งเล่นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน ไอแพด ดูโทรทัศน์ ทำให้เกิดโรค "เทคโนโลยีซินโดรม" ตามมา ซึ่งหนึ่งในอาการที่เกิดขึ้นก็คือ "โรคต้อหิน" อันมีสาเหตุมาจากความเครียดจนทำให้ความดันลูกตาขึ้นได้

สำหรับโรคต้อหินนั้น นายแพทย์ฐาปนวงศ์ ได้อธิบายว่า โรคนี้จะมีการทำลายของเส้นประสาทตาจากหลายสาเหตุ สาเหตุสำคัญเกิดจากความดันในลูกตาสูงเกินไป ทั้งจากการสร้างน้ำในลูกตามากเกินไป หรือระบายออกน้อยเกินไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรือค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ และคนเป็นจะไม่รู้ตัว 
ทั้งนี้ หากเป็นแล้วจะมีผลให้ลานสายตาแคบลงเรื่อย ๆ หากไม่รักษา ปล่อยทิ้งไว้ จะสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด แม้จะรักษาความดันได้เป็นปกติ แต่สายตาจะไม่กลับคืนเป็นปกติ หรือเรียกว่าสูญเสียอย่างถาวร หากบอดแล้วบอดเลย หรือตาพร่ามัวตลอดชีวิต

4. เลือกใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่

เวลาพิมพ์งานควรเลือกใช้ขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่พอ และปรับความเข้มของตัวอักษรให้มากขึ้น ซึ่งขนาดตัวอักษรและความเข้มที่เหมาะสมจะสังเกตได้จากการที่เรายังสามารถอ่านตัวอักษรได้ในระยะห่างเป็น 3 เท่าของระยะที่นั่งทำงาน หรือเลือกใช้จอคอมพิวเตอร์ชนิด LCD (จอแบน) ซึ่งจะช่วยถนอมสายตาได้ดีกว่าจอคอมพิวเตอร์แบบเก่า (CRT)

5. เลือกใช้แว่นตาที่เหมาะสมกับการใช้คอมพิวเตอร์

ควรเลือกใช้เลนส์สีเขียวอ่อนที่ช่วยให้สบายตาภายใต้แสงจากหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ และเพื่อลดแสงสะท้อนจากจอภาพ โดยเลือกแว่นตาที่มีกำลังขยายสำหรับระยะ 50 – 70 ซม. (ระยะกลาง) ซึ่งค่ากำลังของเลนส์ดังกล่าวจะแตกต่างจากเลนส์อ่านหนังสือหรือเลนส์มองใกล้ทั่วไป

6. พักสายตา

แน่นอนว่าอะไรที่เราใช้งานมากก็มักจะเสื่อมเร็ว ถ้าหากว่าเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรจะมีเวลาพักบ้างอย่างน้อย โดยมีกฎง่ายๆอยู่ว่า 20-20 คือ: ทุก 20 นาทีใช้เวลาพัก 20 วินาที ซึ่งหมายความว่าคุณดึงสายตาของคุณออกจากคอมพิวเตอร์และจ้องมองออกไปสู่พื้นที่หรือวัตถุที่ประมาณ 20 ฟุตห่างจากคุณ สลับกับการมองในระยะใกล้ เพื่อให้กล้ามเนื้อตาลดความตรึงเครียด นอกจากนี้ควรใช้เวลาพักสั้นในระหว่างวันและหยุดพักนาน 1-2 ครั้งต่อวันเพื่อให้คุณสามารถได้รับความคิดของคุณปิดการทำงาน เดินจะดีเพราะให้คุณออกกำลังกายที่มีอากาศบริสุทธิ์และช่วยให้คุณมองออกไปในระยะทางที่ไกลออกไป ควรเปลี่ยนอิริยาบถ หรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายบ้าง เพื่อพักสายตาและป้องกันอาการปวดเมื่อยจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน และอาจใช้การบริหารตา


7. รับประทานอาหารและวิตามินบำรุงสายตา


อาหารบำรุงสายตา จะต้องมีวิตามินเอ และสารอาหารที่ชื่อว่า ลูทีน(Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารอาหารสำคัญในอาหารบำรุงสายตา วิตามินเอจะได้จากอาหารจำพวก ตับไก่ ตับหมู ไข่แดง ฟักทอง ฯลฯ อาหารที่มีลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin)ที่ช่วยบำรุงสายตาได้แก่อาหารจำพวกพืชผักผลไม้ที่มีสีเขียวเข้มและสีเหลืองเช่น ผักคะน้า ผักปวยเล้ง ผักโขมและข้าวโพด สารอาหารที่จำเป็นในการบำรุงสายตาควบคู่ไปกับลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin)ก็คือวิตามินเอที่ได้จากอาหารจำพวกฟักทอง แครอท ผักตำลึง ตับหมู มะละกอ มะม่วงสุก ผักบุ้ง ฯลฯ

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
http://www.sanook.com
http://www.student.chula.ac.th/~53373133/eyesfood.htm
http://health.kapook.com/
7 วิธีถนอมสายตาในยุกคอมพิวเตอร์ 7 วิธีถนอมสายตาในยุกคอมพิวเตอร์ Reviewed by Unknown on สิงหาคม 31, 2557 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.